อุตสาหกรรมประมง

อุตสาหกรรมประมง

รากฐานของอุตสาหกรรมประมงคือการประมง ที่เป็นการจัดการของมนุษย์ในด้านการจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น รวมไปถึงการดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมงด้วย กิจกรรมการทำประมงจัดแบ่งได้ทั้งตามชนิดของสัตว์น้ำและตามเขตเศรษฐกิจ และยังรวมถึงการเพาะปลูกในน้ำ (Aquaculture) ซึ่งหมายถึงการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดในน้ำ เพื่อใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ เช่นเดียวกับเกษตรกรรมที่ทำบนพื้นดิน ต่อมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประมงเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาหนึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์การประมง มีพื้นฐานจากวิชาชีววิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีการจัดศึกษาด้านการประมงในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และการประมงมีบทบาทสำคัญในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงมีคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น “ธุรกิจการประมง” อุตสาหกรรมประมง” เกิดขึ้น

อุตสาหกรรมการประมง จะเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมและขายปลาเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งเริ่มต้นที่ชาวประมงได้ออกไปทะเลบนเรือประมงเชิงพาณิชย์ สำหรับวิธีการเก็บเกี่ยว จับแล้วจะถูกส่งสำหรับการประมวลผลและบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมซึ่งจะรวมถึงการแยกเนื้อประมวลผลและชิ้นส่วนอื่น ๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถส่งไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ ในที่สุดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจะถูกส่งไปยังตลาดอาหารทะเลและผู้ผลิตทั่วโลกที่ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมการประมงพบกับผู้บริโภคจริง

อุตสาหกรรมการประมง ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญมากทั้งในภาคของเศรษฐกิจในทุกๆ ระดับ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของท้องถิ่น จังหวัด รวมไปจนถึงระดับประเทศ มนุษย์เราจำเป็นต้องรับประทานอาหาร ซึ่งแหล่งอาหารของเรานั้นมีอยู่หลายแหล่งมาก โดยเฉพาะในทะเล อาหารทะเลถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด หรือจะเป็นอาหารแปรรูป จนทำให้รายได้หลักๆ ของประเทศของเราก็มาจากการอุตสาหกรรมการประมง

อุตสาหกรรมประมงในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทั้งในด้านอุปกรณ์ ด้านการผลิตสินค้า อย่างอาหารสดแช่แข็ง หรืออาหารแปรรูป รวมไปจนถึงอาหารกระป๋อง การค้าสินค้าประมงของไทบมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ สามารถนำรายได้สู่ประเทศในจำนวนมาก โดยปัจจุบันสินค้าประมวของไทยมีคุณภาพได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ กุ้งและผลิตภัณฑ์จากกุ้ง ทูน่ากระป๋อง และหมึกสดแช่แข็ง เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่าจากวิถีชีวิตปกติของประชาชน ก็สามารถสร้างได้ได้ให้กับครอบครัว และยังขยายออกจนสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ทุกอาชีพมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับทุกอาชีพอย่างเท่าเทียม เพื่อให้ประชาชนในสังคมคุณภาพชีวิตที่ดีและช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไปในทางที่ดียิ่งขึ้น