เรียนวิศวะ

4 เหตุผลที่จะทำให้คุณอยากเรียนวิศวะ

            เชื่อว่าหนึ่งในการตัดสินใจที่ยากที่สุดของใครหลายคน คือ การเลือกเรียนต่อปริญญาตรีในคณะที่ใช่ และมหาวิทยาลัยที่ชอบ เพราะนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชีพที่จะอยู่กับตัวเองไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต และก็เชื่ออีกว่า “คณะวิศวกรรมศาสตร์” มักจะเป็นคณะอันดับต้นๆ ที่อยู่ในชอยส์ของหลายคน

            สำหรับใครที่มีคณะนี้เป็นหนึ่งในชอยส์ และกำลังลังเลอยู่ว่าจะเลือกเรียนดีไหม เรามีข้อมูลดีๆ ที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นมาฝากกัน กับ 5 เหตุผลที่จะทำให้คุณอยากเรียนวิศวะ

#1 เรียนวิศวะไม่มีตกงาน

            แน่นอนว่าสิ่งที่ผู้เรียนทุกคนอยากได้หลังเรียนปริญญาตรีจบแล้วก็คือ “งาน” เพราะงานจะทำให้ได้พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ และมีเงินเพียงพอกับการเลี้ยงชีพในอนาคต

            รู้หรือไม่ว่าหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ เพราะเป็นทักษะพื้นฐานของการคิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนาหลายสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เช่น โครงสร้างถนน สะพาน บ้าน โรงเรียน เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ระบบป้องกันภัยพิบัติ เป็นต้น เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า หลักสูตรการเรียนวิศวะเป็นศาสตร์ที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เ

            ดังนั้นผู้เรียนวิศวะทุกคน ถ้าเรียนจบ และมีความสามารถตรงตามเกณฑ์ที่หลักสูตรระบุไว้ ก็มั่นใจได้ว่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน สามารถมีงานทำ เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้

#2 คนเรียนวิศวะทำงานได้หลากหลายตำแหน่ง

            เมื่อผู้เรียนวิศวะได้เรียนรู้ในหลากหลายสาขาวิชา จนทำให้มีทักษะความชำนาญที่ครอบคลุมหลายได้แล้ว ก็จะทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายตำแหน่ง และหลายอุตสาหกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรตรงกับสาขาที่เรียน วิศวกรในสาขาใกล้เคียง วิศวกรข้ามสาขา ตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ เซลล์ ฯลฯ หรือแม้แต่ประกอบธุรกิจส่วนตัวก็ได้

#3 คนเรียนวิศวะสามารถเรียนต่อได้หลายสาขา

            นอกจากผู้เรียนวิศวะจะทำงานได้หลายตำแหน่ง ในหลายอุตาหกรรมแล้ว ยังสามารถเรียนต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก หรือหลักสูตรระยะสั้นได้ในหลายสาขาวิชาด้วย ถือเป็นข้อได้เปรียบสำคัญ เมื่อเทียบกับบางหลักสูตร เพราะมีพื้นฐานความรู้ทั้งศาสตร์การคำนวณ การคิดวิเคราะห์ และซอฟต์สกิลที่เหมาะสมกับการทำงาน โดยสามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้

ผู้เรียนวิศวะสามารถข้ามสายไปเรียนต่อด้านนิเทศศาสตร์ได้แบบสบายๆ แต่ถ้าให้ผู้เรียนนิเทศข้ามสายมาเรียนต่อด้านวิศวะ คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะหลักสูตรนิเทศศาสตร์ไม่ได้เน้นมุ่งเน้นเรื่องการคำนวณขั้นสูง หรือทักษะด้านวิทยาศาสตร์เลย

#4 การเรียนวิศวะมีสาขาให้เลือกเยอะมาก

          ถ้าใครไม่ชอบความซ้ำซาก จำเจ เรียนวิศวะก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะมีสาขาต่างๆ ให้เลือกเรียนแบบนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณเลือกเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเอกชนอันดับหนึ่งของไทย จากการจัดอันดับของ SCImago Institutions Rankings เมื่อปี 2021

            มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีหลักสูตรให้ผู้เรียนวิศวะเลือกเรียนได้มากถึง 13 สาขา ได้แก่

  • วิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัตโนมัติ
  • วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
  • วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
  • วิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด
  • วิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (สาขาวิศวกรรมกระบวนการ)
  • วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์)
  • วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน
  • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (สาขา Embedded IoT and Network)
  • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (สาขา Data science and System Management)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมโมบายซอฟต์แวร์
  • วิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
  • เทคโนโลยีดิจิทัล มัลติมีเดียอาร์ต

(ศึกษาเพิ่มเติมคลิก https://mut.ac.th/engi/)

            เห็นไหมว่าการเรียนวิศวะน่าสนใจมากกว่าที่คิด หวังว่า #Dek67 และเด็กรุ่นหลังๆ ที่กำลังเตรียมสอบอยู่ และมีคณะนี้เป็นชอยส์อันดับต้นๆ ในใจ จะตัดสินใจเรียนคณะนี้กันได้ง่ายขึ้น